/> Great fruit and benefits of Anapanasati Sutta ทุติยผลสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๔ - ๑๓๑๖ | รัตนะ5 พุทธวจน

Great fruit and benefits of Anapanasati Sutta ทุติยผลสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๔ - ๑๓๑๖




Cr. Metta Watson

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ แล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :

เมื่อหายใจ เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจ ออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น;

เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็น ผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่ง กายทั้งปวง หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่ง กายทั้งปวง หายใจออก”;
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้ทำ กายสังขารให้ รำงับอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำกาย สังขารให้ รำงับอยู่ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัด ศึกษาว่า
“เราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการ ฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่ง สุข หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่ง สุข หายใจออก”;
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่ง จิตตสังขาร หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่ง จิตตสังขาร หายใจออก”;
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขาร ให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขาร ให้รำงับอยู่ หายใจออก”;
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็น ผู้รู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจออก”;
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ ทำจิตให้ ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”;
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก”;
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้ทำ จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำ จิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก”;
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความจางคลาย อยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์ ๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้.ผลอานิสงส์ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?

ผลอานิสงส์ ๗ ประการ คือ :-
๑. การบรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบันนี้.
๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุอรหัตตผลในกาลแห่งมรณะ.
๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง).
๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานเมื่อใกล้จะสิ้นอายุ).
๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมากนัก).
๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก).
๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ผลอานิสงส์ ๗ ประการ
เหล่านี้ ย่อมหวังได้ ดังนี้.

ทุติยผลสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๔ - ๑๓๑๖.
Share on Google Plus

About Unknown

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 comments:

Post a Comment