Photo Credit : Danish photographer
๕. จูฬสัจจกสูตร
เรื่องสัจจกนิครนถ์สนทนากับพระอัสสชิเถระ
[๓๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี
ครั้งนั้นแล สัจจกนิครนถ์ผู้เป็นนิคันถบุตร อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี เป็นนักโต้ตอบ พูดยก ตนว่าเป็นนักปราชญ์ ชนเป็นอันมากยอมยกว่าเป็นผู้มีความรู้ดี
เขากล่าววาจาในที่ประชุม ชนในเมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ แม้ที่ปฏิญญาตนว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา จะไม่พึงประหม่า ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจากรักแร้ แม้แต่คนเดียวเลย หากเราปรารภโต้ตอบวาทะกะเสาที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา ก็ต้องประหม่า สะทกสะท้าน หวั่นไหว จะป่วยกล่าวไปไยถึงมนุษย์เล่า
ครั้งนั้นแล สัจจกนิครนถ์ผู้เป็นนิคันถบุตร อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี เป็นนักโต้ตอบ พูดยก ตนว่าเป็นนักปราชญ์ ชนเป็นอันมากยอมยกว่าเป็นผู้มีความรู้ดี
เขากล่าววาจาในที่ประชุม ชนในเมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ แม้ที่ปฏิญญาตนว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา จะไม่พึงประหม่า ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจากรักแร้ แม้แต่คนเดียวเลย หากเราปรารภโต้ตอบวาทะกะเสาที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา ก็ต้องประหม่า สะทกสะท้าน หวั่นไหว จะป่วยกล่าวไปไยถึงมนุษย์เล่า
[๓๙๓] ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ท่านพระอัสสชิ นุ่งสบงแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาต ในเมืองเวสาลี สัจจกนิครนถ์ผู้เป็นนิคันถบุตร เดินเที่ยวยืดแข้งขาอยู่ในเมืองเวสาลี ได้เห็น ท่านพระอัสสชิเดินอยู่แต่ที่ไกล ครั้นเห็นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ได้ปราศรัยกับท่าน ครั้งผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามท่านพระอัสสชิดังนี้ว่า
ดูกรท่านอัสสชิผู้เจริญ ก็พระสมณโคดม แนะนำพวกสาวกอย่างไร และคำสั่งสอนของพระสมณโคดม มีส่วนอย่างไรที่เป็นไปมากในพวกสาวก
ดูกรท่านอัสสชิผู้เจริญ ก็พระสมณโคดม แนะนำพวกสาวกอย่างไร และคำสั่งสอนของพระสมณโคดม มีส่วนอย่างไรที่เป็นไปมากในพวกสาวก
ท่านพระอัสสชิบอกว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระภาค ทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย อย่างนี้ และคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค มีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตน เวทนาไม่ใช่ตน สัญญาไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตน วิญญาณไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน
ดูกรอัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระภาค ทรงแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค มีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย
สัจจกนิครนถ์กล่าวว่า ดูกรท่านอัสสชิผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังว่า พระสมณโคดมมีวาทะอย่างนี้ เป็นอันว่าข้าพเจ้าได้ฟังไม่ดีแล้ว ถ้ากระไร บางที ข้าพเจ้าจะพบกับพระสมณโคดมผู้เจริญนั้น จะได้สนทนากันบ้าง ถ้ากระไรข้าพเจ้าจะพึงช่วยปลดเปลื้องพระสมณโคดม เสียจากความเห็นที่เลวทรามนั้นได้
สัจจกนิครนถ์เข้าไปหาเจ้าลิจฉวี
[๓๙๔] สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ องค์ ประชุมกันอยู่ในอาคารเป็นที่ ประชุมด้วยกรณียกิจบางอย่าง.
ครั้งนั้น สัจจกนิครนถ์เข้าไปหาพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ครั้นเข้า ไปหาแล้วได้กล่าวกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นดังนี้ว่า
ครั้งนั้น สัจจกนิครนถ์เข้าไปหาพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ครั้นเข้า ไปหาแล้วได้กล่าวกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นดังนี้ว่า
ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย จงไปด้วยกัน ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย จงไปด้วยกัน วันนี้ข้าพเจ้าจักสนทนากับพระสมณโคดม ถ้าพระสมณโคดมจักตั้งอยู่ตามคำที่ภิกษุชื่ออัสสชิ ซึ่งเป็นสาวกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงยืนยันแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักฉุด กระชาก ลากถ้อยคำพระสมณโคดมมาด้วยคำข้าพเจ้า ให้เป็นเหมือนบุรุษที่มีกำลังจับแกะอันมีขนยาวที่ขน แล้วลากมาลากไป ฉะนั้น หรือให้เป็นเหมือนคนที่ทำการงานในโรงสุรา ซึ่งมีกำลัง วางเสื่อลำแพนสำหรับรองแป้งสุราผืนใหญ่ในห้วงน้ำลึก แล้วจับที่มุมชักลากฟัดฟาดไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักสลัดฟัดฟาดถ้อยคำพระสมณโคดมเสีย ให้เป็นเหมือนบุรุษที่มีกำลัง ซึ่งเป็นนักเลง สุราจับถ้วยที่หูแล้วสลัดไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักเล่นงานพระสมณโคดมเหมือนอย่างที่คนเขาเล่นกีฬาชื่อสาณโธวิก (ซักป่าน) ให้เป็นเหมือนช้างที่มีวัยล่วงหกสิบปี จึงจะถอยกำลัง ลงสู่สระโบกขรณีมีลำน้ำลึก แล้วเล่นกีฬาชนิดที่ชื่อว่าสาณโธวิก (ซักป่าน) ฉะนั้น ขอเจ้าลิจฉวี ทั้งหลาย จงไปด้วยกัน ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย จงไปด้วยกัน วันนี้ ข้าพเจ้าจักสนทนากับพระสมณโคดม
ในบรรดาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า เหตุอะไร พระสมณโคดม จักยกถ้อยคำของท่านสัจจกะได้ ที่แท้ ท่านสัจจกะกลับยกถ้อยคำของพระสมณโคดมเสีย บางพวกกล่าวว่า ท่านสัจจกะเป็นอะไร จึงจักยกถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคได้ ที่แท้ พระผู้มีพระภาค กลับจักยกถ้อยคำของท่านสัจจกะเสีย
ครั้งนั้นแล สัจจกนิครนถ์ มีเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ ห้อมล้อมแล้ว เข้าไปยังกูฏาคาศาลาป่ามหาวัน
ในบรรดาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า เหตุอะไร พระสมณโคดม จักยกถ้อยคำของท่านสัจจกะได้ ที่แท้ ท่านสัจจกะกลับยกถ้อยคำของพระสมณโคดมเสีย บางพวกกล่าวว่า ท่านสัจจกะเป็นอะไร จึงจักยกถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคได้ ที่แท้ พระผู้มีพระภาค กลับจักยกถ้อยคำของท่านสัจจกะเสีย
ครั้งนั้นแล สัจจกนิครนถ์ มีเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ ห้อมล้อมแล้ว เข้าไปยังกูฏาคาศาลาป่ามหาวัน
[๓๙๕] สมัยนั้น ภิกษุมากด้วยกันจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง
ครั้งนั้นแล สัจจกนิครนถ์ เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้ว ถามว่า ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ พระสมณโคดมนั้นอยู่ที่ไหน พวกข้าพเจ้าปรารถนาจะพบพระสมณโคดมนั้น
ครั้งนั้นแล สัจจกนิครนถ์ เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้ว ถามว่า ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ พระสมณโคดมนั้นอยู่ที่ไหน พวกข้าพเจ้าปรารถนาจะพบพระสมณโคดมนั้น
ภิกษุทั้งหลายนั้นบอกว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ พระผู้มีภาคพระองค์นั้น เสด็จเข้าไปสู่ป่ามหาวัน ประทับพักกลางวัน ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง.
ลำดับนั้น สัจจกนิครนถ์พร้อมด้วยพวกเจ้าลิจฉวีมีจำนวนมาก เข้าไปสู่ป่ามหาวันจนถึงที่ที่พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้เจ้าลิจฉวีทั้งหลายนั้น บางพวกถวายอภิวาท บางพวกทูลปราศรัย บางพวกประนมมือ บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตน ในสำนักพระผู้มีพระภาค บางพวกก็นิ่งอยู่ ครั้นแล้วต่างก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ลำดับนั้น สัจจกนิครนถ์พร้อมด้วยพวกเจ้าลิจฉวีมีจำนวนมาก เข้าไปสู่ป่ามหาวันจนถึงที่ที่พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้เจ้าลิจฉวีทั้งหลายนั้น บางพวกถวายอภิวาท บางพวกทูลปราศรัย บางพวกประนมมือ บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตน ในสำนักพระผู้มีพระภาค บางพวกก็นิ่งอยู่ ครั้นแล้วต่างก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
สัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหา
[๓๙๖] สัจจกนิครนถ์พอนั่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าพเจ้าขอถาม พระโคดมสักหน่อยหนึ่ง ถ้าพระโคดมจะทำโอกาสเพื่อแก้ปัญหาแก่ข้าพเจ้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านประสงค์จะถามปัญหาใด ก็ถามเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านประสงค์จะถามปัญหาใด ก็ถามเถิด
พระโคดมแนะนำพวกสาวกอย่างไร และคำสั่งสอนของพระโคดมมีส่วนอย่างไร ที่เป็นไปมากในพวกสาวก?
ดูกรอัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตน เวทนาไม่ใช่ตน สัญญาไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตน วิญญาณไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตน ดังนี้ ดูกรอัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคำสั่งสอนของเรามีส่วน อย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย
ท่านพระโคดม ขออุปมาจงแจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า?
ดูกรอัคคิเวสสนะ อุปมานั้นจงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด
ท่านพระโคดม เหมือนพืชพันธุ์ไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ พืชพันธุ์เหล่านั้นทั้งหมด ต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ หรือเหมือนการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ต้องทำด้วยกำลัง อันบุคคลทำอยู่ การงานเหล่านั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ต้องตั้งอยู่บนแผ่นดิน
จึงทำกันได้ ฉันใด ปุริสบุคคลนี้ มีรูปเป็นตน มีเวทนาเป็นตน มีสัญญาเป็นตน มีสังขาร เป็นตน มีวิญญาณเป็นตน ต้องตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงได้ ประสบผลบุญ ผลบาป ฉันนั้น
จึงทำกันได้ ฉันใด ปุริสบุคคลนี้ มีรูปเป็นตน มีเวทนาเป็นตน มีสัญญาเป็นตน มีสังขาร เป็นตน มีวิญญาณเป็นตน ต้องตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงได้ ประสบผลบุญ ผลบาป ฉันนั้น
ดูกรอัคคิเวสสนะ ข้อนั้นท่านกล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตนของเรา เวทนาเป็นตนของเรา สัญญาเป็นตนของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตนของเรา วิญญาณเป็นตนของเรา ดังนี้ มิใช่หรือ?
ท่านพระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนั้น ประชุมชนเป็นอันมากก็กล่าวอย่างนั้น
ดูกรอัคคิเวสสนะ ประชุมชนเป็นอันมากนั้นจักทำอะไรแก่ท่าน ดูกรอัคคิเวสสนะ เชิญท่านยืนยันถ้อยคำของท่านเถิด
ท่านพระโคดม เป็นความจริง ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนี้ รูปเป็นตนของเรา เวทนา เป็นตนของเรา สัญญาเป็นตนของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตนของเรา วิญญาณเป็นตนของเรา ดังนี้
ทรงซักถามอัคคิเวสสนะด้วยอุปมา
[๓๙๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ ถ้าอย่างนั้น เราจักสอบถามท่านในข้อนี้แหละ ท่านเห็นควรอย่างไร ท่านพึงแก้ไขอย่างนั้น ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่นพระเจ้าปเสนทิโกศล หรือพระเจ้ามคธอชาตศัตรูเวเทหิบุตร อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรริบ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ พึงให้เป็นไปได้ ในพระราชอาณาเขตของพระองค์มิใช่หรือ?
ท่านพระโคดม อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่นพระเจ้าปเสนทิโกศล หรือพระเจ้ามคธอชาตศัตรูเวเทหิบุตร อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรริบ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ พึงให้เป็นไปได้ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ แม้แต่ อำนาจของหมู่คณะเหล่านี้ คือ วัชชี มัลละ อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรริบ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ ยังเป็นไปได้ในแว่นแคว้นของตนๆ เหตุไรเล่า อำนาจเช่นนั้นของ พระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่นพระเจ้าปเสนทิโกศล หรือพระเจ้ามคธอชาตศัตรูเวเทหิบุตร จะให้เป็นไปไม่ได้ อำนาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วนั้น ต้องให้เป็นไปได้ด้วย ควรจะเป็นไปได้ด้วย
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า รูป เป็นตนของเรา อำนาจของท่านเป็นไปในรูปนั้นว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ?
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์ก็นิ่งเสีย ถึงสองครั้ง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะสัจจกนิครนถ์ว่า
ดูกรอัคคิเวสสนะ กาลบัดนี้ ท่านจงแก้ ไม่ใช่การที่ท่าน ควรนิ่ง ดูกรอัคคิเวสสนะ ผู้ใด อันตถาคตถามปัญหาที่ชอบแก่เหตุแล้วถึงสามครั้ง มิได้แก้ ศีรษะของผู้นั้นจะแตกเป็นเจ็ดเสี่ยงในที่เช่นนั้น
สมัยนั้น ท้าววชิรปาณีสักกเทวราช ถือกระบองเพชรลุกเป็นไฟรุ่งเรืองลอยอยู่ในเวหา ณ เบื้องบนศีรษะสัจจกนิครนถ์ ประกาศว่า ถ้าสัจจกนิครนถ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคตรัสถามปัญหาที่ชอบแก่เหตุแล้วถึงสามครั้ง มิได้แก้ปัญหา เราจักผ่าศีรษะสัจจกนิครนถ์นั้นเจ็ดเสี่ยง ในที่นี้แหละ
ท้าววชิรปาณีนั้น พระผู้มีพระภาคกับสัจจกนิครนถ์เท่านั้นเห็นอยู่ ในทันใดนั้น สัจจกนิครนถ์ ตกใจกลัวจนขนชัน แสวงหาพระผู้มีพระภาคเป็นที่ต้านทานป้องกันเป็นที่พึ่ง ได้ทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ขอจงทรงถามเถิด ข้าพเจ้าจักแก้ ณ บัดนี้
ท้าววชิรปาณีนั้น พระผู้มีพระภาคกับสัจจกนิครนถ์เท่านั้นเห็นอยู่ ในทันใดนั้น สัจจกนิครนถ์ ตกใจกลัวจนขนชัน แสวงหาพระผู้มีพระภาคเป็นที่ต้านทานป้องกันเป็นที่พึ่ง ได้ทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ขอจงทรงถามเถิด ข้าพเจ้าจักแก้ ณ บัดนี้
[๓๙๘] ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตนของเรา ดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไปในรูปนั้นว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ?
ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ.
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจงทำไว้ในใจเถิด ครั้นทำไว้ในใจแล้ว จึงกล่าวแก้ เพราะคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังของท่านไม่ต่อกัน
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นตนของเรา สัญญาเป็นตนของเรา สังขาร ทั้งหลายเป็นตนของเรา วิญญาณเป็นตนของเรา ดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไปในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณว่า เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ?
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นตนของเรา สัญญาเป็นตนของเรา สังขาร ทั้งหลายเป็นตนของเรา วิญญาณเป็นตนของเรา ดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไปในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณว่า เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ?
ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจงทำในใจเถิด ครั้นทำไว้ในใจแล้ว จึงกล่าวแก้ เพราะคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังของท่านไม่ต่อกัน
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อ นั้นเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อ นั้นเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ไม่เที่ยง พระโคดมผู้เจริญ
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข?
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ พระโคดมผู้เจริญ
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตนของเรา?
ข้อนั้นไม่ควรเลย พระโคดมผู้เจริญ.
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ผู้ใดติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์อยู่แล้ว กล้ำกลืนทุกข์แล้ว ยังตามเห็นทุกข์ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตนของเรา ดังนี้ ผู้นั้นกำหนดรู้ทุกข์ได้เอง หรือจะทำทุกข์ให้สิ้นไปได้แล้วจึงอยู่ มีบ้างหรือ?
จะพึงมีได้เพราะเหตุไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่าน ติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์อยู่แล้ว กล้ำกลืนทุกข์แล้ว ยังตามเห็นทุกข์ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตนของเรา ดังนี้ มิใช่หรือ?
ไฉนจะไม่ถูก พระเจ้าข้า ข้อนี้ต้องเป็นอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญ
[๓๙๙] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนบุรุษมีความต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้อยู่ ถือเอาผึ่งที่คมเข้าไปสู่ป่า เขาเห็นต้นกล้วยใหญ่ต้นหนึ่งในป่านั้น มีต้นตรง ยังกำลังรุ่น ไม่คด เขาจึงตัดต้นกล้วยนั้นที่โคนต้น แล้วตัดยอด ริดใบออก เขาไม่พบแม้แต่กระพี้ แล้วจะพบแก่นได้แต่ที่ไหน แม้ฉันใด
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านอันเรา ซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน ในถ้อยคำของตนเอง ก็เปล่าว่าง แพ้ไปเอง ท่านได้กล่าววาจานี้ ในที่ประชุมชน ในเมืองเวสาลีว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ แม้ที่ปฏิญญาตนว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา จะไม่พึงประหม่า ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจากรักแร้ แม้แต่คนเดียวเลย หากเราปรารภโต้ตอบวาทะกะเสาที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา ก็ ต้องประหม่า สะทกสะท้าน หวั่นไหว จะป่วยกล่าวไปไยถึงมนุษย์เล่า ดังนี้
ดูกรอัคคิเวสสนะ หยาดเหงื่อของท่านบางหยาด หยดจากหน้าผากลงยังผ้าห่มแล้วตกที่พื้น ส่วนเหงื่อในกายของเราในเดี๋ยวนี้ไม่มีเลย ดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงเปิดพระกาย มีพระฉวีดังทอง ในบริษัทนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์นั่งนิ่งอึ้ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
[๔๐๐] ในลำดับนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีนามว่าทุมมุขะ ทราบว่า สัจจกนิครนถ์นิ่งอึ้ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อุปมาย่อมแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรทุมมุขะ อุปมานั้นจงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรทุมมุขะ อุปมานั้นจงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด
เจ้าลิจฉวีนั้นทูลถามว่า เปรียบเหมือนในที่ใกล้บ้านหรือนิคม มีสระโบกขรณี อยู่สระหนึ่ง ในสระนั้นมีปูอยู่ตัวหนึ่ง พวกเด็กชายหญิงเป็นอันมาก ออกจากบ้านหรือนิคมนั้น ไปถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็ลงจับปูขึ้นจากน้ำ วางไว้บนบก ปูนั้นจะส่ายก้ามไปข้างไหน เด็กเหล่านั้นก็คอยต่อยก้ามปูนั้นด้วยไม้บ้าง ด้วยกระเบื้องบ้าง เมื่อปูนั้นก้ามหักหมดแล้ว ก็ไม่อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นเหมือนก่อนได้ ฉันใด ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม เข้าใจผิด กวัดแกว่ง บางอย่างๆ ของสัจจกนิครนถ์ พระองค์หักเสียแล้ว แต่นี้ไป สัจจกนิครนถ์ก็ไม่อาจเข้ามาใกล้ พระองค์ ด้วยความประสงค์จะโต้ตอบอีก ก็ฉันนั้นแหละ
เมื่อเจ้าลิจฉวีทุมมุขะกล่าวอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์ ก็พูดว่า เจ้าทุมมุขะท่านหยุดเถิด ท่านพูดมากนัก ข้าพเจ้าไม่ได้พูดกับท่าน ข้าพเจ้า พูดกับพระโคดมต่างหาก ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ทูลว่า
ข้าแต่พระโคดม ข้อที่พูดนั้นเป็นของข้าพเจ้า และของพวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่น ยกเสียเถิด เป็นแต่คำเพ้อ พูดเพ้อกันไป
ข้าแต่พระโคดม ข้อที่พูดนั้นเป็นของข้าพเจ้า และของพวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่น ยกเสียเถิด เป็นแต่คำเพ้อ พูดเพ้อกันไป
เหตุที่พระสาวกเป็นผู้ทำตามคำสอนและเป็นพระอรหันต์
[๔๐๑] สัจจกนิครนถ์ ทูลถามว่า ด้วยเหตุเท่าไร สาวกของพระโคดม จึงชื่อว่าเป็น ผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากความแคลงใจอันเป็นเหตุให้กล่าวว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน?
ดูกรอัคคิเวสสนะ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ สาวกของเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูก ตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากความแคลงใจอันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน
[๔๐๒] ข้าแต่พระโคดม ด้วยเหตุเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ?
ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบตาม เป็นจริงอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ จึงพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น
ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ
ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุที่รู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้แหละ ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ คือ
- ความเห็นอันยอดเยี่ยม ๑
- ความปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ๑
- ความพ้นวิเศษอันยอดเยี่ยม ๑.
เมื่อ มีจิตพ้นกิเลสแล้วอย่างนี้ ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว ย่อมทรงแสดงทำธรรมให้ตรัสรู้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงฝึกพระองค์แล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อฝึก พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงสงบได้แล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อสงบ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามพ้นแล้ว ย่อมทรงแสดงธรรม เพื่อข้ามพ้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงดับสนิทแล้วย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความดับสนิท
สัจจกนิครนถ์ทูลนิมนต์ฉันภัตตาหาร
[๔๐๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์ได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ข้าพเจ้าเป็นคนคอยกำจัดคุณผู้อื่น เป็นคนคะนองวาจา ได้สำคัญถ้อยคำของพระโคดม ว่า ตนอาจรุกรานได้ด้วยถ้อยคำของตน บุรุษมาปะทะช้างซับมันเข้าก็ดี เจอะกองไฟอันกำลังลุกโพลงก็ดี เจอะงูพิษที่มีพิษร้ายก็ดี ยังพอเอาตัวรอดได้บ้าง แต่มาเจอะพระโคดมเข้าแล้ว ไม่มีใครเอาตัวรอดได้เลย ข้าแต่พระโคดม ข้าพเจ้าเป็นคนคอยกำจัดผู้อื่น เป็นคนคะนองวาจา ได้สำคัญถ้อยคำของพระโคดมว่า ตนอาจรุกรานได้ด้วยถ้อยคำของตน ขอพระโคดมพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ จงรับนิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น สัจจกนิครนถ์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงบอกพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า เจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ข้าพเจ้านิมนต์แล้ว เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ พวกท่านจะนำอาหารใดมาเพื่อข้าพเจ้า จงเลือกอาหารที่ควรแก่พระโคดมเถิด
เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ได้นำภัตตาหารประมาณห้าร้อยสำรับ ไปให้แก่สัจจกนิครนถ์
สัจจกนิครนถ์ให้จัดของเคี้ยวของฉันอันประณีตในอารามของตนเสร็จ แล้ว จึงให้ทูลบอกกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดม เวลานี้เป็นกาลควร ภัตตาหาร สำเร็จแล้ว
สัจจกนิครนถ์ให้จัดของเคี้ยวของฉันอันประณีตในอารามของตนเสร็จ แล้ว จึงให้ทูลบอกกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดม เวลานี้เป็นกาลควร ภัตตาหาร สำเร็จแล้ว
[๔๐๔] ครั้งนั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรจีวร เสด็จไปสู่อารามแห่งสัจจกนิครนถ์ ประทับบนอาสนะที่ปูลาดไว้ถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
ครั้งนั้น สัจจกนิครนถ์อังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของเคี้ยวของฉัน อันประณีต ด้วยมือของตน ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ นำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว สัจจกนิครนถ์จึงถือเอาอาสนะต่ำ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ขอบุญและผลบุญในทานนี้ จงมีเพื่อความสุขแก่ทายกทั้งหลายเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรอัคคิเวสสนะ บุญและผลบุญในทานนี้ อาศัยทักขิเณยบุคคล ที่ยังไม่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เช่นกับท่าน จักมีแก่ทายกทั้งหลาย ส่วนบุญและผลบุญ อาศัยทักขิเณยยบุคคล ที่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เช่นกับเรา จักมีแก่ท่าน ฉะนี้แล
จบ จูฬสัจจกสูตร ที่ ๕
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๒
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๒
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
Booking.com
0 comments:
Post a Comment