/> อสัตบุรุษ | รัตนะ5 พุทธวจน

อสัตบุรุษ

Credit: boro
อสัตบุรุษ
อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง


๑๐. จูฬปุณณมสูตร (๑๑๐) 


[๑๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา วิสาขามิคารมารดา ใน พระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ 

[๑๓๑] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็น อสัตบุรุษ หรือไม่หนอ ฯ 

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็น อสัตบุรุษ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็น สัตบุรุษไหมเล่า ฯ 

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่าผู้นี้เป็น สัตบุรุษ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ฯ 

[๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ
  • ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ 
  • ภักดีต่ออสัตบุรุษ 
  • มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ 
  • มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ 
  • มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ 
  • มีการงานอย่างอสัตบุรุษ 
  • มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ 
  • ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ฯ 

[๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างไร คืออสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ของอสัตบุรุษ ฯ

[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ 
มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อ ว่าเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ ฯ 

[๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ 
  • ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง 
  • คิดเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง 
  • คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ ฯ 

[๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ 
  • ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง 
  • รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
  • รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ ฯ 

[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ 
  • เป็นผู้มักพูดเท็จ 
  • พูดส่อเสียด 
  • พูดคำหยาบ 
  • เจรจาเพ้อเจ้อ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ ฯ 

[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ 
  • มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง 
  • มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ 
  • มักประพฤติผิดในกาม 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็น ผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ ฯ 

[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า 
  • ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล 
  • ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว 
  • ไม่มีโลกนี้ไม่มี โลกหน้า 
  • ไม่มีมารดา ไม่มีบิดาไม่มี 
  • สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
  • สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี 
ดูกร ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ

[๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษ ในโลกนี้ 
  • ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ 
  • ให้ทานไม่ใช่ด้วยมือของตน 
  • ทำความไม่อ่อนน้อมให้ทาน 
  • ให้ทานอย่างไม่เข้าใจ เป็นผู้มีความเห็นว่าไร้ผลให้ทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษ ชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ฯ 

[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษนั่นแหละ 
  • เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างนี้ 
  • ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้ 
  • มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ 
  • มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ 
  • มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ 
  • มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ 
  • มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ 
  • ให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว 

เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของอสัตบุรุษ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของอสัตบุรุษคืออะไร คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรฉาน ฯ

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์





Booking.com
Share on Google Plus

About Unknown

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 comments:

Post a Comment