/> ผู้ไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์ | รัตนะ5 พุทธวจน

ผู้ไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์


การเกิดขึ้นของธาตุสี่เท่ากับการเกิดขึ้นของทุกข์
ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏ
ของปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ใด ๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้น
ของทุกข์, เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย, และเป็นความ
ปรากฏของชราและมรณะ.

- นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๘/๔๑๔.

ความเพลินในธาตุสี่เท่ากับความเพลินในทุกข์
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่ง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
และวาโยธาตุ, ผู้นั้น ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์. เราย่อมกล่าวว่า
“ผู้ใด ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากทุกข์”
ดังนี้แล.

- นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๘/๔๑๒.

รสอร่อย - โทษ - อุบายเครื่องพ้นไปของธาตุสี่
ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น
โพธิสัตว์อยู่, ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “อะไรหนอ เป็นรสอร่อยของ
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ? อะไร เป็นโทษของปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ? อะไร เป็นอุบายเครื่องออกไปพ้นได้จาก
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ?”

อริยสัจจากพระโอษฐ์

ภิกษุ ท. ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “สุข โสมนัส ใด ๆ ที่
อาศัย ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ แล้วเกิดขึ้น, สุข และ
โสมนัส นี้แล เป็น รสอร่อย ของปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ;
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มี ความแปร-
ปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด, อาการนี้แล เป็น โทษของปฐวีธาตุ อาโป-
ธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ; การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ และวาโยธาตุ เสียได้ ด้วยอุบายใด, อุบายนี้แล เป็น อุบายเครื่อง
ออกไปพ้นได้จากปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ,” ดังนี้แล.

- นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๓/๔๐๔.
Share on Google Plus

About Unknown

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 comments:

Post a Comment