Photo Credit : kruyoga
|
อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ความไหวหรือความเอนเอียง แห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี |
กัปปินสูตร
ว่าด้วยอานาปานสติสมาธิ
[๑๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความ หวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสมาธิใด ภิกษุนั้นได้สมาธินั้นตามความปรารถนาได้ โดยไม่ยากไม่ลำบาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ความไหวหรือความเอนเอียง แห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี
[๑๓๒๑] พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
[๑๓๒๒] พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เห็นความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายของภิกษุนั้นหรือหนอ?
[๑๓๒๓] ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลาย เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่ลับรูปเดียว ในเวลานั้น ข้าพระองค์ทั้ง หลายมิได้เห็นความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายของท่านผู้มีอายุนั้นเลย
[๑๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความ หวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสมาธิใด ภิกษุนั้นได้สมาธินั้นตามความปรารถนาได้ โดยไม่ยากไม่ลำบาก
[๑๓๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ กระทำให้มากซึ่งสมาธิ เป็น ไฉน? เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง อานาปานสติสมาธิ
[๑๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่ง จิตก็ดี ย่อมไม่มี
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
- เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
- เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
- เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
- เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
- ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
- ย่อมสำเหนียก ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียก ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก
- ย่อมสำเหนียก ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า
- ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ สละคืน หายใจออก
- ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ความไหวหรือความเอนเอียง แห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี
จบ สูตรที่ ๗
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
0 comments:
Post a Comment