/> ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ห้าประการ | รัตนะ5 พุทธวจน

ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ห้าประการ


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ห้าประการเหล่านี้มีอยู่… ห้าประการ คือ

ภิกษุทั้งหลาย ! พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้น ตามที่พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี แสดงแล้วอย่างไร 

เมื่อภิกษุ เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่หนึ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมี่อีก พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ 


แต่ภิกษุได้แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังมา ได้ศึกษาเล่าเรียนมา แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดารอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมในธรรมตามที่เธอได้แสดง ตามที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร 

เมื่อภิกษุเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ ย่อมเกิด แก่เธอนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สอง

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อ อื่นยังมี่อีก พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ และภิกษุนั้นมิได้แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังมา ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร 


แต่ภิกษุได้ ทำการสาธยายธรรม โดยพิสดาร ตามที่ได้ฟังมา ได้ศึกษา เล่าเรียนมาอยู่ ภิกษุ ย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้นตามที่ได้ทำการสาธยายธรรม โดยพิสดาร ตามที่ได้ฟังมา ได้ศึกษาเล่าเรียนมา 

เมื่อภิกษุเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สาม

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อ อื่นยังมี่อีก พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ และภิกษุนั้นมิได้แสดงธรรม โดยพิสดาร ตามที่ได้ฟังมา ได้ศึกษา เล่าเรียนมา และภิกษุนั้น มิได้ทำการสาธยายธรรม โดยพิสดาร ตามที่ได้ฟังมา ได้ศึกษาเล่าเรียนมาอยู่ 


แต่ภิกษุ ได้ตรึกตาม ตรองตามด้วยใจ ใคร่ครวญธรรม ตามที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ด้วยใจอยู่ ภิกษุ ย่อม เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้นตามที่ได้ตรึกตาม ตรองตามด้วยใจ ใคร่ครวญธรรม ตามที่ได้ฟัง ได้ศึกษา เล่าเรียนมา ด้วยใจอยู่ 

เมื่อภิกษุ เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ ย่อมเกิด แก่เธอนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สี่

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมี่อีก พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรม แก่ภิกษุ และภิกษุนั้น มิได้แสดงธรรม โดยพิสดาร ตามที่ได้ฟังมา ได้ศึกษา เล่าเรียนมา และภิกษุนั้น มิได้ทำการสาธยายธรรม โดยพิสดาร ตามที่ได้ฟังมา ได้ศึกษา เล่าเรียนมา และภิกษุนั้น มิได้ตรึกตาม ตรองตาม ใคร่ครวญธรรม ตามที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ 



แต่ว่า สมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เธอศึกษาเล่าเรียน มาด้วยดีแล้ว ทำไว้ในใจด้วยดีแล้ว ทรงไว้ด้วยดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญาอยู่ ภิกษุย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ สมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เธอศึกษา เล่าเรียนมาด้วยดีแล้ว ทำไว้ในใจด้วยดีแล้ว ทรงไว้ด้วยดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญาอยู่ 

เมื่อภิกษุ เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ ย่อมเกิด แก่เธอนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่ห้า

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ห้าประการ เหล่านี้ ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบ ย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมได้บรรลุตามลำดับ ในธรรมอันเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า ที่ตนยังไม่ได้บรรลุ ตามลำดับ ดังนี้.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๕๕

(ภาษาไทย) ปญฺจก .อํ. ๒๒/๒๐/๒๖.
Share on Google Plus

About Unknown

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 comments:

Post a Comment