/> ผัสสายตนะ 6 ประการ | รัตนะ5 พุทธวจน

ผัสสายตนะ 6 ประการ

Credit: wittyfeed
รูปที่ชอบใจ
ผัสสายตนะ ๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่ ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้


สังคัยหสูตรที่ ๑ 


[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ 

ผัสสายตนะ ๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่ ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่ คุ้มครอง ไม่ รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ 

[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ 

ผัสสายตนะ ๖ เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อม นำสุขมากมาให้ 

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ ภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ 

[๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์ บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคลเหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่ 

  • บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึงบรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารักของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว)


  • ได้ยินเสียงที่น่ารักและเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึงบรรเทาโทสะในเสียงที่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่าเสียงไม่น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) 


  • ได้ดมกลิ่นที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารักใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดใน กลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่ พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ 


  • ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย 


  • ถูกสัมผัสที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้า แล้ว ไม่พึงหวั่นไหว ในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้ายเพราะผัสสะอะไรๆ 


  • นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความสำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่ ก็บุคคลบรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษาใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาล นั้น จิตของบุคคลนั้นอันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวใน ที่ไหนๆ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ 


จบสูตรที่ ๑
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๘ ข้อที่ ๑๒๘ - ๑๓๐
Share on Google Plus

About Unknown

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 comments:

Post a Comment