Credit : Angela Person
|
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่ |
อานนท์ ! ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้ (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้ (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการดีดนิ้วมือ อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ
อานนท์ ! ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะได้กลิ่นด้วยโสตะ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้ (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนหยดน้ำตกจากใบบัว อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งกลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ
อานนท์ ! ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะลิ้มรสด้วยชิวหา
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้ (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งรสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้ (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนน้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งรสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา
อานนท์ ! ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะสัมผัสด้วยผิวกาย
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้ (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งโผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้ (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งโผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย
อานนท์ ! ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้ (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้ (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนหยดน้ำบนกระทะเหล็กที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน อุเบกขายังคงดำรงอยู่
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ
Booking.com
No comments:
Post a Comment