Image source: luminousjourneys
เขาผู้มีตนส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ ด้วยนามกายด้วย, ย่อมแทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญาด้วย |
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำ เพียงเท่านี้. บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. อนึ่ง ข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการตามรู้ความจริง”
ภารท๎วาชะ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดีหรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ
(โดยนัยเป็นต้นว่า) “ท่านผู้มีอายุผู้นี้ จะมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะหรือไม่หนอ อันเป็นธรรมที่เมื่อครอบงำจิตของท่านแล้ว จะทำให้ท่านเป็นบุคคลที่เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น หรือว่าจะชักชวนผู้อื่นในธรรมอันเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นตลอดกาลนาน” ดังนี้ ;
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ในใจซึ่งภิกษุนั้น ก็รู้ว่า “ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะชนิดนั้น มิได้มีแก่ท่านผู้มีอายุนี้, อนึ่ง กายสมาจาร วจีสมาจาร ของท่านผู้มีอายุผู้นี้ ก็เป็นไปในลักษณะแห่งสมาจารของบุคคลผู้ไม่โลภแล้ว, อนึ่ง ท่านผู้มีอายุนี้ แสดงซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่รำงับ ประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นธรรมละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย, ธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่คนผู้มีความโลภจะแสดงให้ถูกต้องได้” ดังนี้ เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
ภารท๎วาชะ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดีหรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ
- ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
- ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
- ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะทั้งหลาย
(โดยนัยเป็นต้นว่า) “ท่านผู้มีอายุผู้นี้ จะมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะหรือไม่หนอ อันเป็นธรรมที่เมื่อครอบงำจิตของท่านแล้ว จะทำให้ท่านเป็นบุคคลที่เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น หรือว่าจะชักชวนผู้อื่นในธรรมอันเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นตลอดกาลนาน” ดังนี้ ;
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ในใจซึ่งภิกษุนั้น ก็รู้ว่า “ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะชนิดนั้น มิได้มีแก่ท่านผู้มีอายุนี้, อนึ่ง กายสมาจาร วจีสมาจาร ของท่านผู้มีอายุผู้นี้ ก็เป็นไปในลักษณะแห่งสมาจารของบุคคลผู้ไม่โลภแล้ว, อนึ่ง ท่านผู้มีอายุนี้ แสดงซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่รำงับ ประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นธรรมละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย, ธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่คนผู้มีความโลภจะแสดงให้ถูกต้องได้” ดังนี้ เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
“ท่านผู้มีอายุผู้นี้ จะมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะหรือไม่หนอ อันเป็นธรรมที่เมื่อครอบงำจิตของท่านแล้ว จะทำให้ท่านเป็นบุคคลที่เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น หรือว่าจะชักชวนผู้อื่นในธรรมอันเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นตลอดกาลนาน” ดังนี้ ;
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ในใจซึ่งภิกษุนั้น ก็รู้ว่า “ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะชนิดนั้น มิได้มีแก่ท่านผู้มีอายุนี้, อนึ่ง กายสมาจาร วจีสมาจาร ของท่านผู้มีอายุผู้นี้ ก็เป็นไปในลักษณะแห่งสมาจารของบุคคลผู้ไม่โลภแล้ว, อนึ่ง ท่านผู้มีอายุนี้ แสดงซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่รำงับ ประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นธรรมละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย, ธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่คนผู้มีความโทสะจะแสดงให้ถูกต้องได้” ดังนี้ เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ในใจซึ่งภิกษุนั้น ก็รู้ว่า “ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะชนิดนั้น มิได้มีแก่ท่านผู้มีอายุนี้, อนึ่ง กายสมาจาร วจีสมาจาร ของท่านผู้มีอายุผู้นี้ ก็เป็นไปในลักษณะแห่งสมาจารของบุคคลผู้ไม่โลภแล้ว, อนึ่ง ท่านผู้มีอายุนี้ แสดงซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่รำงับ ประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นธรรมละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย, ธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่คนผู้มีความโมหะจะแสดงให้ถูกต้องได้” ดังนี้ เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
ลำดับนั้น เขา
(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไป ในภิกษุนั้น ครั้นมีสัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ, เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อมมีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรมครั้นมีความสมดุลแห่งธรรมแล้ว
(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น ;
ภารท๎วาชะ ! การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ก่อน.
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียง เท่านี้ บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. อนึ่ง ข้าพเจ้าก็ มุ่งหวังซึ่งการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้
ลำดับนั้น เขา
(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไป ในภิกษุนั้น ครั้นมีสัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ, เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อมมีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรมครั้นมีความสมดุลแห่งธรรมแล้ว
(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น ;
เขาผู้มีตนส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ ด้วยนามกายด้วย, ย่อมแทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญาด้วย
ภารท๎วาชะ ! การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ก่อน.
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียง เท่านี้ บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. อนึ่ง ข้าพเจ้าก็ มุ่งหวังซึ่งการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๑
หน้าที่ ๘๗ - ๘๙
Booking.com
No comments:
Post a Comment